ปรัชญาหลัก คือ การเป็นกำลังสำคัญในการผลิตมหาบัณฑิตที่สามารถสร้างสรรค์งานวิจัยคิดค้นนวัตกรรมด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ อันจะช่วยเพิ่มศักยภาพทางการทหาร ลดการพึ่งพาต่างชาติ
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมและเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ สังกัดภารกิจบูรณาการ การศึกษา ฝ่ายวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เริ่มเปิดสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 โดยเป็นความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ตามแนวทางพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ให้ 2 สถาบันประสานความร่วมมือในด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ เพื่อประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาประเทศ
ภายใต้ปรัชญาหลัก คือ การเป็นกำลังสำคัญในการผลิตมหาบัณฑิตที่สามารถสร้างสรรค์งานวิจัย คิดค้นนวัตกรรมด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ อันจะช่วยเพิ่มศักยภาพทางการทหาร ลดการพึ่งพาต่างชาติที่เป็นผู้ผลิตและเป็นเจ้าของเทคโนโลยีซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาการพัฒนาประเทศแบบบูรณาการและยั่งยืน โดยที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการเรียนการสอนหลายหลักสูตรที่คล้ายคลึงกัน และในหลายสาขาวิชามีความเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมกับความมั่นคงทางทหาร โดยเฉพาะในส่วนของความรู้ด้านยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีทางทหาร การประสานองค์ความรู้ทางวิชาการในสาขาวิชาต่าง ๆ เข้ามาร่วมกันก็จะก่อให้เกิดความเข้มแข็งต่อการพัฒนาประเทศ
ปัจจุบันหลักสูตรวิศวกรรมและเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ เปิดสอนหลักสูตรที่บูรณาการศาสตร์ทางวิศวกรรมร่วมกับศาสตร์ทางการทหาร แบ่งเป็น 7 แขนงวิชา แต่ละแขนงวิชาใช้รายวิชาระดับมหาบัณฑิตของหลักสูตรอื่นที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
- แขนงวิชาวิศวกรรมโยธาและวัตถุระเบิด ใช้รายวิชาของหลักสูตรวิศวกรรมโยธา
- แขนงวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเพื่อการป้องกันประเทศ ใช้รายวิชาของหลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้า
- แขนงวิชาวิศวกรรมเครื่องกลเพื่อการป้องกันประเทศ ใช้รายวิชาของหลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกล
- แขนงวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเพื่อการป้องกันประเทศ ใช้รายวิชาของหลักสูตรวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
- แขนงวิชาวิศวกรรมโลหการเพื่อการป้องกันประเทศ ใช้รายวิชาของหลักสูตรวิศวกรรมโลหการ
- แขนงวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เพื่อการป้องกันประเทศ ใช้รายวิชาของหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหลักสูตรวิศวกรรมสำรวจ
- แขนงวิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์เพื่อการป้องกัน ประเทศ ใช้รายวิชาของหลักสูตรวิศวกรรมนิวเคลียร์
นอกจากนี้ นิสิตสามารถเรียนรายวิชาระดับมหาบัณฑิตที่ปรากฏในหลักสูตรอื่นซึ่งเปิดสอน ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเสริมความรู้สำหรับการทำวิทยานิพนธ์หรือผลงานวิจัยให้แก่นิสิตภายใต้ดุลยพินิจของอาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
ในส่วนของการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งการบริหารงานหลักสูตร หลักสูตรได้รับความ ร่วมมือเป็นอย่างดีจากทั้งคณาจารย์ในภาควิชาต่าง ๆ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณาจารย์จากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ตลอดจน ผู้ทรงคุณวุฒิจากกองทัพและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งเป็นส่วนช่วยผลักดันให้เกิดการพัฒนากระบวนการผลิตบัณฑิต การสร้างสรรค์ผลงานวิจัย การบริการวิชาการสู่สังคมและประเทศอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
รายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตรฯ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- รองศาสตราจารย์ ดร.พิชญ รัชฎาวงศ์
- รองศาสตราจารย์ ดร.วิทิต ปานสุข
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทยากร อัศดรวิเศษ
- รองศาสตราจารย์ ดร.นภดนัย อาชวาคม
- ศาสตราจารย์ ดร.ศราวุธ ริมดุสิต
- พ.อ. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนก วีรวงศ์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สืบสกุล พิภพมงคล
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ สุรฤกษ์
- รองศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย นิลสุวรรณโฆษิต
- รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัญญวัชร์ วังยาว
- รองศาสตราจารย์ ดร.วิบูลย์ ศรีเจริญชัยกุล
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาณุวัฒน์ จันทร์ภักดี
- รองศาสตราจารย์ ดร.เสกศักดิ์ อัสวะวิสิทธิ์ชัย
- รองศาสตราจารย์ ดร.ลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ
- รองศาสตราจารย์ ดร.โปรดปราน บุณยพุกกณะ
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- พ.อ. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชวน จันทวาลย์
- พ.อ. รองศาสตราจารย์ ดร.ผเดิม หนังสือ
- พ.อ. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร นุตยะสกุล
- พ.อ.หญิง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤตยาภรณ์ เจริญผล
- พ.อ. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาศิส บุณยะประภัศร
- พ.ท. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรเทพ สมราช
สถานที่ติดต่อ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ +66 2218 6330
เว็บไซต์ www.defengtech.eng.chula.ac.th/contact.html