บทสัมภาษณ์คณบดี

ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล

คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือว่าเป็น ต้นแบบในการสร้างระบบการเรียนการสอนทางด้านวิศวกรรมให้แก่ประเทศมาโดยตลอด

ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล

สวัสดีครับ

ผมศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรม-ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้งขึ้นมาจนถึงวันนี้นับเป็นระยะเวลากว่า105 ปีแล้ว อยู่เคียงคู่กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งแต่เริ่ม โดยเป็นคณะวิชาแรกๆ ที่เปิดสอนทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ของประเทศ ไทย ปัจจุบันมีสาขาวิชาในระดับปริญญาตรีกว่า 18 สาขาวิชา รวมถึง มีการเรียนการสอนและทำวิจัยทั้งในระดับปริญญาโท ปริญาเอก อีกกว่า 20 สาขา ในระบบการเรียนการสอนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

การเรียนการสอนในปัจจุบัน

ปัจจุบันการเรียนการสอนในระดับปริญญาโทและปริญาเอก เป็นการเรียน การสอนที่ไม่ได้ยึดติดกับภาษา เมื่อในรายวิชานั้นมีนักเรียนต่างชาติเข้ามา ร่วมเรียน คณาจารย์ที่ทำการสอนจะปรับการเรียนการสอนให้เป็นภาษาอังกฤษ โดยในปัจจุบันมีนิสิต 3 ระดับ ทั้งสิ้นประมาณ 6,000 คน และมีคณาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุน รวมกันอีกเกือบ 600 คน

ต้นแบบระบบการเรียน

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ถือว่าเป็นต้นแบบในการสร้างระบบการเรียนการสอนทางด้าน วิศวกรรมให้แก่ประเทศมาโดยตลอด ในอดีตเราเป็นผู้นำในการผลิตวิศวกร สำหรับออกไปทำงานรับใช้ประเทศและสังคมในระบบอุตสาหกรรมแบบเดิม

การเรียนรู้รูปแบบใหม่ Active Learning

และในปัจจุบันนี้เองโลกของเรา เปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาล ความต้องการวิศวกรด้านต่างๆ ที่มีความหลากหลาย มีความต้องการมากยิ่งขึ้น กระนั้นแล้วทางคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาฯ ได้มีการปรับตัวไปค่อนข้างมาก โดยมีการนำแบบแผนการเรียนการสอน แบบ Active Learning มาประยุกต์ใช้ ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง มากยิ่งขึ้น

“เราจะมุ่งมั่นสร้างวิศวกรให้เป็นผู้เรียนรู้อย่างไร้ขีดจำกัด”

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปัจจัยสำคัญสำหรับผลิตวิศวกรในอนาคต

ปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับผลิตวิศวกรในอนาคตคือเราต้องการให้วิศวกรเป็นผู้ที่เรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นผู้ที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา และทุกขณะ ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็น ผู้นำทางด้านการเรียนการสอนการผลิตวิศวกรของประเทศไทย ตลอดระยะเวลา 105 ปีที่ผ่านมา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความภาคภูมิใจที่ได้ผลิตบุคลากรและวิศวกร เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศชาติ รวมถึงได้มีโอกาสนำงานวิจัยและนวัตกรรมต่าง ๆ ของคณาจารย์และนักวิจัยไปสู่การใช้งานจริง

ในอนาคตข้างหน้า

เนื่องจากองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ด้านเทคโนโลยี และด้านวิศวกรรม จะขยายตัวออกไปอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด คณะวิศวกรรม-ศาสตร์ จุฬาฯ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็น Platform แห่งการเรียนรู้ เพื่อบูรณาการองค์ความรู้จากภาคส่วนต่างๆ ทั้งจากภาครัฐ เอกชน คณาจารย์ นักวิจัย เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้เรียนและประเทศชาติต่อไป

เป้าหมายของเรา

เป้าหมายของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬา- ลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ การพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรมให้เป็นวิชาชีพแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทั้งนี้เพราะว่าองค์ความรู้ ต่างๆ ทางด้านวิศวกรรมนั้นในปัจจุบันมีขอบเขตที่ไม่มีข้อจำกัด การเรียนการสอนในคณะเพียงไม่กี่ปีจะไม่สามารถผลิต วิศวกรที่มีคุณภาพได้

ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องผลิตวิศวกรที่มีความใฝ่ฝัน มีความใฝ่รู้ ที่สามารถเรียนรู้ และต่อยอดองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง