ประวัติคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ยุคบุกเบิก - ยุคปัจจุบัน

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เกริ่นนำ

หากจะกล่าวถึงที่มาที่ไปของคณะ วิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ของเราแล้ว ก็คงจะต้องกล่าวย้อนไปในช่วง รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนมหาดเล็กขึ้นใน พระบรมมหาราชวัง โดยมีพระราชประสงค์เพื่อจะให้เป็นที่ฝึกหัดข้าราชการสำหรับ ทำงานราชการต่างพระเนตรพระกรรณ ของพระองค์

ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนายกระดับโรงเรียน มหาดเล็กขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษา และพระ ราชทานนามใหม่ว่า “โรงเรียนข้าราชการพล เรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว” เพื่อให้เป็นไปตาม พระราชประสงค์ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวที่ต้องการให้มีมหาวิทยาลัยขึ้น สำหรับเป็นสถาบันอุดมศึกษาของชาวสยาม เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2453 จึงถือได้ว่าโรงเรียนข้าราชการพลเรือนนี้ เป็นต้นกำเนิดของมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน ทั้งนี้พระองค์ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ สร้างโรงเรียนมหาดเล็กขึ้นใหม่ โดยเติมคำว่า “หลวง” ต่อท้ายอีกคำหนึ่ง ณ ตำบลดุสิต ซึ่งก็คือโรงเรียนวชิราวุธ ในปัจจุบัน

การเปิดสอนในโรงเรียนข้าราชการ พลเรือน มีทั้งหมด 8 แผนกวิชา ได้แก่ 

  1. วิชาแพทย์ 
  2. วิชาครู 
  3. วิชากฎหมาย 
  4. วิชาราชบัณฑิตย์ 
  5. วิชาวิศวกรรม 
  6. วิชาพาณิชยการ 
  7. วิชาเกษตร 
  8. วิชาการปกครองและการทูต

และจัดการศึกษาใน 5 โรงเรียน คือ โรงเรียนรัฐประศาสนศาสตร์ตั้งอยู่ในพระ บรมมหาราชวัง โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ตั้งอยู่ ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยา โรงเรียน ราชแพทยาลัย ตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช โรงเรียนเนติศึกษา ตั้งอยู่ที่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา และโรงเรียน ยันตรศึกษา ตั้งอยู่ที่วังใหม่ปทุมวัน (ภายหลังได้ ถูกรื้อถอนเพื่อสร้างเป็นสนามกีฬาแห่งชาติ) ซึ่งโรงเรียนยันตรศึกษาในเวลาต่อมาก็ได้เปลี่ยนมาเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั่นเอง

โรงเรียนเกษตรและโรงเรียน ยันตรศึกษาก้าวแรกสู่วิศวฯ จุฬาฯ

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย มีต้นกำเนิดมาจากโรงเรียน เกษตรวิศวกรรมการคลองและโรงเรียน ยันตรศึกษาแห่งโรงเรียนข้าราชการพลเรือน โดย ใน พ.ศ. 2454 พระยาศรีวรวงศ์ ผู้บัญชา การกระทรวง เกษตราธิการ ได้โอนโรงเรียน เกษตรวิศวกรรมการคลอง ซึ่งตั้งอยู่ที่วังใหม่ ให้มาสังกัดโรงเรียนข้าราชการพลเรือน โดยตั้งเป็นแผนกเกษตรศาสตร์ขึ้น แต่เนื่องด้วยกระทรวงเกษตราธิการยังไม่มี ความต้องการจะรับผู้ที่สำเร็จวิชาในแผนกนี้ เข้ารับราชการ จึงได้มอบหมายให้พระอนุยุตยันตรการ (ขณะนั้นยังเป็นหลวงอนุยุต ยันตรการ) ซึ่งย้ายมาจากกรมแผนที่ทหารบก มาบริหารงานที่โรงเรียนเกษตร วิศวกรรม การคลองนี้ไปในระยะแรกก่อน

 ในปีต่อมาเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ได้มาเป็น ผู้บัญชาการโรงเรียนข้าราชการพล เรือน ท่านได้สอบถาม ทหารบก ทหารเรือ กรมรถไฟ กรมชลประทาน และ หน่วยงาน อื่นๆ จนได้ความแน่ชัดว่า ต่างก็ต้องการ นักเรียนที่สำเร็จวิชานี้มาก จึงได้ให้จัดตั้ง โรงเรียนช่างกลขึ้น วางหลักสูตร หาอาจารย์ มาเพิ่มเติมให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยนักเรียนช่างกลชุดแรกก็คือนักเรียน จากโรงเรียนเกษตรวิศวกรรม การคลอง ที่โรงเรียนข้าราชการพลเรือนได้รับมอบมา นั่นเอง พร้อมทั้งวังใหม่สถานที่ของโรงเรียน เกษตรก็ได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนช่างกลและได้ เปิดสอนโดยสมบูรณ์ โดยมีชื่อว่า “โรงเรียน ยันตรศึกษาแห่งโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว” ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2456 เป็นต้นมา นับเป็นจุดเริ่มต้นของคณะ วิศวกรรมศาสตร์อย่างแท้จริง

วังใหม่ปทุมวัน (วังวินด์เซอร์) หรือที่นิยมเรียกกันว่า “หอวัง”
วังใหม่ปทุมวัน (วังวินด์เซอร์) หรือที่นิยมเรียกกันว่า “หอวัง”
นิสิตหอวัง
นิสิตหอวัง

ครั้นเมื่อได้รับโอนโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ ของกระทรวงธรรมการ มาเป็นโรงเรียนคุรุ ศึกษาของโรงเรียนข้าราชการพลเรือน แล้ว โรงเรียนทั้งหมดในสังกัดโรงเรียนข้าราช การพลเรือนก็ได้ย้ายมาตั้งรวมกันที่วังใหม่ ปทุมวันและได้วางระเบียบเครื่องแต่งกายและ สีแถบคอเสื้อของนักเรียนแผนกต่างๆ ขึ้น คือ ยันตรศึกษา สีเลือดหมู คุรุศาสตร์ สีเหลือง แพทยศาสตร์ สีเขียว และรัฐประศาสนศาสตร์ สีดำ และทางราชการได้มอบให้พระยาวิทยา ปรีชามาตย์ (ขณะนั้นเป็นพระอนุภาษศิษยา นุสาร) ผู้อำนวยการโรงเรียนคุรุศึกษาเข้ามา รักษาการตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนยันตรศึกษาด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2457 โดยมีพระอนุยุตยันตรการเป็นหัวหน้า อาจารย์ และต่อมา มิสเตอร์วิกโก้ ลุนด์ ได้เป็นหัวหน้าอาจารย์แทน ใน พ.ศ. 2459 ตามลำดับ 

คณะอาจารย์และนิสิตรุ่นที่ 1-2 ของแผนกวิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ. 2457 ถ่ายหน้าวังวินด์เซอร์
คณะอาจารย์และนิสิตรุ่นที่ 1-2 ของแผนกวิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ. 2457 ถ่ายหน้าวังวินด์เซอร์

ในสมัยเริ่มต้นนั้น โรงเรียนยันตรศึกษา รับเพียงนักเรียนที่สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของกระทรวงธรรมการเท่านั้น และเนื่องจาก ว่าโรงเรียนนี้เพิ่งจะ ก่อตั้งขึ้นมาได้ไม่นาน จึงย่อมมีข้อบกพร่องในประการต่างๆ เช่น อุปกรณ์ในการสอนไม่เพียงพอ สถานที่ไม่ เหมาะสม อาจารย์ผู้สอนไม่พรักพร้อม ดังนั้นทางโรงเรียนจึงขอความช่วยเหลือจากข้าราชการบางท่านที่มีความรู้ความ ชำนาญในวิชาวิศวกรรมให้มา ช่วยสอน เช่น พระยาปกิตกลศาสตร์ เข้ามาเป็นพี่เลี้ยง และผู้อำนวยความเจริญให้แก่โรงเรียนเป็น อันมาก และนอกจากจะได้รับความช่วยเหลือ ในส่วนตัวบุคคลแล้ว โรงเรียนยังได้ขอความ อุปการะจากกระทรวง ทบวง และกรม ที่มีหน้าที่ต้องใช้นักเรียนแผนกนี้ (เช่น กรมรถไฟ และกรมทดนํ้า) ให้ช่วยรับนักเรียนเข้าฝึกหัดในโรงเรียนของ สถานที่นั้น ๆ เพื่อหาความชำนาญในระหว่าง ภาคเรียน กับทั้งต้องคอยหาโอกาสให้นักเรียนได้ไปดูกิจการที่เกี่ยวข้องกับการช่างประเภทนี้ตามโอกาส เพื่อหาความก้าวหน้า จนเกือบจะนับว่านักเรียนไม่ได้มีเวลาหยุดจริงๆ เลย

บริเวณหน้าประตูวิมานไชยศรี ขวามือคือโรงเรียนมหาดเล็ก
บริเวณหน้าประตูวิมานไชยศรี ขวามือคือโรงเรียนมหาดเล็ก

การเรียนในขั้นแรกนี้กำหนดหลักสูตร ให้เรียน ในโรงเรียนเพียง 3 ปี เมื่อสำเร็จแล้ว ต้องออกฝึกหัด การงานในสถานที่ซึ่งโรงเรียน เห็นชอบด้วยอีก 3 ปี เพราะทางการได้ เล็งเห็นชัดแล้วว่าการเรียนวิชาช่าง ไม่ว่า ประเภทใดๆ ต้องอาศัยความชำนิชำนาญ จากการเห็นตัวอย่างจากของจริงและต้องทำด้วยนํ้ามือของ ตนเองมากๆ ด้วยเหตุที่ โรงเรียนยังบกพร่องในเรื่อง ดังกล่าว จึงต้องถือเอาการฝึกหัดในโรงงานของกระทรวง ทบวง กรม ที่มีการช่างวิศวกรรมเป็นส่วนสำคัญ ส่วนหนึ่งของการเรียน โรงเรียนจึงได้วาง ระเบียบไว้ว่า เมื่อเรียนในโรงเรียนสำเร็จแล้ว จะต้องออกฝึกหัดงานไม่น้อยกว่า 3 ปี และเมื่อโรงเรียนได้รับรายงานเป็นที่พอใจแล้ว จึงจะยอมรับว่าการเรียนนั้นจบบริบูรณ์ตาม หลักสูตร และยอมออกประกาศนียบัตรให้ได้

เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
พระอนุยุตยันตรการ
พระอนุยุตยันตรการ
พระยาวิทยาปรีชามาตย์
พระยาวิทยาปรีชามาตย์
พระยาปกิตกลศาสตร์
พระยาปกิตกลศาสตร์
ประกาศนียบัตรวิศวกรรมศาสตร์ สมัยโรงเรียนยันตรศึกษา วศ.2459
ประกาศนียบัตรวิศวกรรมศาสตร์ สมัยโรงเรียนยันตรศึกษา วศ.2459 (พ.ศ. 2459 เป็นปีสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ภาพนี้ถ่ายหน้าวังวินด์เซอร์ (ในภาพมี มร.วิกโก้ ลุนด์ ด้วย)