บทสัมภาษณ์หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์

ผศ. ดร.พงษ์แพทย์ เพ่งวาณิชย์

ผศ. ดร.พงษ์แพทย์ เพ่งวาณิชย์

หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์

ภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์มีอายุเกือบ 40 กว่าปีแล้ว อยู่กับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งแต่ประเทศไทยต้องการที่จะศึกษาเรื่องการสร้าง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีการพัฒนาหลักสูตรขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ของประเทศ ซึ่งในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากประเทศไทยใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์และรังสีมากขึ้น ภาควิชาจึงได้เพิ่มในส่วนของการใช้งานเทคโนโลยีนิวเคลียร์และรังสี ทั้งในเรื่องของอุตสาหกรรม การเกษตร การแพทย์ จนปัจจุบันมีสาขาวิศวกรรมนิวเคลียร์ และวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ เพื่อตอบโจทย์ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก

ในส่วนของภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ เราเป็นภาควิชาเดียวที่มีอยู่ในประเทศไทย ในขณะนี้ และเป็นภาควิชาแรกที่เกิดขึ้นในภูมิภาคอาเซียนของเรา ตอนนี้ในหลักสูตร ของเราจะเน้นในด้านการพัฒนาหรือการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในอุตสาหกรรม แต่มีการศึกษาเรื่องการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในการแพทย์ การเกษตร และการใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าด้วย

การพัฒนาหลักสูตรของภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์นั้น ได้มีการเปรียบเทียบกับหลักสูตรที่มีอยู่ในต่างประเทศ มีการปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมกับภูมิภาค และเหมาะสมกับประเทศของเรา ซึ่งเราเป็นประเทศที่ยังไม่มีเทคโนโลยีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในการผลิตกระแสไฟฟ้า แต่มีการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในด้านต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมเกษตร การแพทย์ ซึ่งปัจจุบันมีความแพร่หลายมากยิ่งขึ้น มีการนำเข้าเทคโนโลยีใหม่เข้ามา เพราะฉะนั้น นิสิตที่เรียนภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ก็จะได้เรียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่าง ๆ เหล่านั้น เพื่อให้สามารถออกไปทำงานได้ในประเทศของเราและในภูมิภาคด้วย

ตั้งแต่ก่อตั้งภาควิชามา 40 กว่าปี มีการผลิตทั้งวิศวกร และนักวิทยาศาสตร์ ออกไปรับใช้สังคมของประเทศและภูมิภาคหลายร้อยคน ซึ่งนิสิตเก่าเหล่านั้นปัจจุบันอยู่ตามหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในภาครัฐและเอกชน ซึ่งหลายคนก็มีตำแหน่งดูแลในเรื่องของความปลอดภัย เรื่องการใช้งานทางด้านนิวเคลียร์และรังสีให้มีความปลอดภัย หลายคนทำหน้าที่ในเรื่องของการทำวิจัยเพื่อนำมาพัฒนา เพื่อนำเอาเทคโนโลยีนิวเคลียร์และรังสีมาพัฒนาประเทศให้ดียิ่งขึ้น

ภาควิชามีเป้าหมายที่จะพัฒนาบัณฑิตให้มีคุณภาพเพื่อให้สามารถออกไปรับใช้สังคมที่ปัจจุบันมีการใช้งานเทคโนโลยีนิวเคลียร์และรังสีมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในด้านการเกษตร การแพทย์ การอุตสาหกรรม และในอนาคตอาจจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งเมื่อมีการใช้งาน เราก็ต้องมีคนที่ออกไปดูแลให้มีความปลอดภัย และถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาในเรื่องของงานวิจัยเพื่อให้สามารถแข่งขันกับตลาดภายนอกได้

เป้าหมายของภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ เพื่อพัฒนาบัณฑิตให้สามารถออกไปรับใช้สังคมได้ในอนาคต เนื่องจากประเทศไทยมีการใช้งานเทคโนโลยีนิวเคลียร์และรังสีมากขึ้น ทั้งในด้านอุตสาหกรรมการแพทย์ การเกษตร และอื่น ๆ เพราะฉะนั้นการใช้งานเหล่านี้ จำเป็นจะต้องมีคนที่มีความรู้และความสามารถที่จะใช้เทคโนโลยีได้อย่าง-

ถูกต้องและปลอดภัย ฉะนั้นจะต้องผลิตบัณฑิตให้เพียงพอเพื่อจะตอบสนองความต้องการเหล่านี้ นอกจากนั้นภาควิชายังเน้นในเรื่องของการทำวิจัยเพื่อจะไปตอบโจทย์สังคม เพราะในปัจจุบันมีปัญหาอีกหลายส่วนที่สามารถเอาความรู้ทางด้านนิวเคลียร์และรังสีมาแก้ไขทั้งในเรื่องของการเกษตร อาหาร นํ้าและอื่นๆ

การเปลี่ยนแปลงในเรื่องของเทคโนโลยีนิวเคลียร์และ รังสีมีการเปลี่ยนเปลงอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นในอนาคต ทางภาควิชาก็จำเป็นที่จะต้องมีการติดตามและปรับเปลี่ยนหลักสูตร และกิจกรรมต่างๆ ของภาควิชา เพื่อให้สามารถที่จะตอบโจทย์ได้

เทคโนโลยีนิวเคลียร์และรังสีในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทางภาควิชาจำเป็นที่จะต้องมีการติดตามแล้วเปลี่ยนแปลงให้ทันเทคโนโลยีเหล่านั้น เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะออกมา ทั้งในเรื่องโรงไฟฟ้าชนิดใหม่ ๆ อุปกรณ์ใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการเกษตร อุตสาหกรรมการแพทย์

อยากจะขอเชิญชวนน้อง ๆ ที่มีความสนใจเทคโนโลยีนิวเคลียร์และรังสี ให้เข้ามาเรียนด้วยกัน หรือถ้าสนใจแต่ยังไม่แน่ใจ ก็อาจจะเข้ามาที่ภาควิชาแล้วก็มาพูดคุยกับอาจารย์ กับรุ่นพี่ที่เรียนอยู่เพื่อช่วยในการตัดสินใจ