บทสัมภาษณ์หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

รศ. ดร.ปวีณา เชาวลิตวงศ์

รศ. ดร.ปวีณา เชาวลิตวงศ์

หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

วิศวกรรมอุตสาหการเป็นศาสตร์ที่ถือกำเนิดขึ้นในยุคสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรมที่มีความต้องการการผลิตในปริมาณที่มากขึ้น และต้องการต้นทุนที่ตํ่าลง นอกจากการมีเครื่องจักรแล้วนั้น เรายังต้องการคนจำนวนมากเข้ามาช่วยในการผลิตด้วย ทำให้เกิดความสำคัญของการวางแผนต่าง ๆ ขึ้นมา ตัวอย่างเช่น การจัดสายการผลิต การจัดตารางงานของพนักงาน หรือการวางแผนการผลิต ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะส่งผลต่อประสิทธิภาพและความสำเร็จของการผลิตนั้น ๆ

ศาสตร์ของวิศวกรรมอุตสาหการก็ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จากจุดเริ่มต้นที่มีเพียงสายการผลิต ปัจจุบันความสามารถในการบริหารจัดการระบบของเราได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในงานบริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานบริการในด้านสาธารณสุข งานการเงินและการธนาคาร รวมทั้งงานด้านโลจิสติกส์ต่าง ๆ

ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการได้ดำเนินการภายใต้คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มากว่า 70 ปี ความเป็นวิศวฯ จุฬาฯ ได้หยั่งรากลึกลงเป็นวัฒนธรรมองค์กรของภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการของเราในการมุ่งมั่น ทุ่มเทที่จะพัฒนานิสิตในรุ่นถัดไปเพื่อรับช่วงความสำเร็จที่สืบเนื่องต่อ ๆ กันมาจากรุ่นสู่รุ่น

เรามีคณาจารย์ที่มีศักยภาพสูง มีความเชี่ยวชาญในหลากหลายสาขา และได้ดำเนินการพัฒนาภาควิชามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ยังคงความโดดเด่นในด้านวิชาการ หลักสูตรและระบบการเรียนการสอนเพื่อให้เท่าทันกับเทคโนโลยีและความต้องการทางด้านสังคมและการพัฒนาประเทศที่ได้เปลี่ยนแปลงไป

ด้วยความที่เราเป็นภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการแห่งแรกในประเทศไทย เราได้ทำหน้าที่ในการผลิตบัณฑิตวิศวกรรมอุตสาหการออกสู่สังคมไทยเป็นจำนวนมาก สิ่งที่ทำให้เราภูมิใจมากที่สุดนั้น คือ การได้เห็นบัณฑิตของเราประสบความสำเร็จในองค์กรต่าง ๆ บัณฑิตของเราได้เป็นผู้บริหารระดับสูงทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจทางด้านการผลิต งานบริการ งานการเงิน งานการลงทุน และในภาครัฐ ที่อยู่ในระดับที่ต้องวางแผนนโยบายระดับประเทศ นอกจากนี้ยังมีบัณฑิตอีกหลายคนที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจส่วนตัว เรารู้สึกยินดีและมีความภาคภูมิใจในบัณฑิตของเราอย่างมาก

เป็นที่ทราบกันดีว่าเรามาถึงยุคปฏิวัติดิจิทัลแล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็วการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถือว่าเป็นความท้าทายให้แก่วิศวกรของเรา ความที่เป็นโจทย์ใหม่นั่นเอง จึงต้องการการมองภาพแบบในหลายมิติ ในเชิงของ Multidisciplinar และ Interdisciplinary แต่สิ่งที่น่าเบาใจสำหรับเรา คือศาสตร์ของเรา หรือตรรกะของเรา หรือ Core ทางด้านความคิดของวิศวกรรมอุตสาหการ อันได้แก่ ความสามารถในการวิเคราะห์ และความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบก็ยังคงทันสมัยอยู่ หากแต่ตัวเทคโนโลยีที่ใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจ