ประวัติภาควิชาวิศวกรรมเคมี

ใน พ.ศ. 2518 ภาควิชาวิศวกรรมเคมีได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยแยกตัวออกมาจากภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการเคมี (Industrial Chemical Engineering, IC)

ภาควิชาวิศวกรรมเคมีได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ใน พ.ศ. 2519 ภาควิชาฯ ได้เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเคมี (Master of Engineering in Chemical Engineering, M.Eng. (ChE) ใน พ.ศ. 2532 ได้เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเคมี (D.Eng ChE) ขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย และใน พ.ศ. 2533 เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเคมี (ภาค นอกเวลาราชการ) เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถอย่างดีเยี่ยมเพื่อเป็นคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยภายในประเทศ และเป็นนักวิจัยและพัฒนาที่ดีสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมเคมีในอนาคต ด้วยห้องปฏิบัติการวิจัยทันสมัยทั้ง 8 กลุ่มคือ

  • Center of Excellence in Catalysis and Catalytic Reaction Engineering
  • Biochemical Engineering Research
  • Polymer Engineering Research
  • Control and Systems Engineering Research
  • Center of Excellence in Particle and Material Precessing Technology
  • Separation Technology Research
  • Oleochemical Laboratory
  • Process System Engineering Laboratory
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี

ปัจจุบันภาควิชาวิศวกรรมเคมี รับนิสิตปริญญาตรีโดยเฉลี่ยปีละ 80 คน นิสิตระดับปริญญาโทเฉลี่ยปีละ 120 คน นิสิตระดับปริญญาโท (ภาคนอกเวลาราชการ) โดยเฉลี่ยปีละ 20 คน และนิสิตระดับปริญญาเอกเฉลี่ยปีละ 10 คน

ภาควิชาวิศวกรรมเคมี

ภาควิชาฯ มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติจำนวนกว่า 100 บทความต่อปี ได้รับเงินทุนวิจัยจากภาครัฐและเอกชนมากกว่า 60 ล้านบาทต่อปี โดยได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ ได้รับรางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มูลนิธิ เทโรประเทศไทย ครั้งที่ 15 พ.ศ. 2551 อีกทั้งเป็นภาควิชาวิศวกรรมเคมีแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย พ.ศ. 2552 ในระดับดีเยี่ยม ได้รับการจัดอันดับโลกอยู่ใน 100 ลำดับแรกของสาขาวิศวกรรมเคมี โดย QS World University Ranking 2012-2018รา

รายนามหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเคมี

1. รองศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ เศรษฐมานิต พ.ศ. 2518-2521
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธรรม วาณิชเสนี พ.ศ. 2521-2525
3. รองศาสตราจารย์ ดร.เกริกชัย สุกาญจนัจที พ.ศ. 2525-2526
4. ดร.วรพัฒน์ อรรถยุกติ พ.ศ. 2526-2527
5. รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยฤทธิ์ สัตยาประเสริฐ พ.ศ. 2527-2531
6. ศาสตราจารย์ ดร.ปิยะสาร ประเสริฐธรรม พ.ศ. 2531-2539
7. ศาสตราจารย์ ดร.วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล พ.ศ. 2539-2541
8. รองศาสตราจารย์ ดร.อุรา ปานเจริญ พ.ศ. 2541-2543
9. รองศาสตราจารย์ ดร.สุธรรม วณิชเสนี พ.ศ. 2543-2545
10. ศาสตราจารย์ ดร.ปิยะสาร ประเสริฐธรรม พ.ศ. 2546-2553
11. ศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล กิตติศุภกร พ.ศ. 2553-2561
12. รองศาสตราจารย์ ดร.วรงค์ ปวราจารย์ พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน