ผศ. ดร.อนุรักษ์ ศรีอริยวัฒน์
หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมแหล่งนํ้า
ตามที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า นํ้าเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศ ปัญหาของประเทศไทยเราประสบทั้งปัญหาภัยแล้งและภัยนํ้าท่วม เพราะฉะนั้นจุดมุ่งหมายของการสร้างหลักสูตรในเรื่องของวิศวกรรมแหล่งนํ้าขึ้น ก็เพื่อใช้ในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการไปตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นและช่วยในการพัฒนาประเทศที่เกี่ยวข้องกับทางด้านนํ้า
ที่มาของภาควิชาวิศวกรรมแหล่งนํ้า แต่เดิมมาวิศวกรรมแหล่งนํ้าเป็นสาขาหนึ่ง ในภาควิชาวิศวกรรมโยธา ที่เป็นสาขาวิศวกรรมชลศาสตร์ ด้วยความที่มีปัญหาใน ระดับประเทศที่เกี่ยวข้องกับทางด้านนํ้าเป็นจำนวนมาก ทั้งปัญหานํ้าแล้งและปัญหา นํ้าท่วม ทางภาควิชาจึงได้แยกตัวออกมาเป็นภาควิชาวิศวกรรมแหล่งนํ้าตั้งแต่ พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา
ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น เป้าหมายหลักของภาควิชาก็คือเพื่อผลิตบัณฑิตให้มี ความรู้ความสามารถในการไปตอบสนองต่อปัญหาของประเทศที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการนํ้า และการป้องกันภัยพิบัติต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น
ด้วยความพร้อมของภาควิชาที่มีอยู่ในปัจจุบัน ภาควิชาได้มอบโอกาสให้แก่นิสิต โดยมีทุนการศึกษาต่าง ๆ รวมถึงทุนที่ช่วยเหลือในเรื่องของการวิจัย อีกทั้งยังมีความ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ การสนับสนุนในเรื่องของการแลกเปลี่ยนนิสิตต่าง ๆ อาทิเช่น Kyoto University, National Taiwan University, University of California Irvine เพราะฉะนั้นจึงเป็นโอกาสอันดีของตัวนิสิตเองที่จะได้เข้ามาอยู่ในภาควิชาวิศวกรรม แหล่งนํ้าแห่งนี้ ในการพัฒนาตัวเอง ในการทำงานทั้งระบบที่อยู่ในระดับประเทศและ ระหว่างประเทศ เพราะในอนาคตอันใกล้นี้ อาเซียนกำลังจะมาเป็นส่วนหนึ่งของการ ดำเนินงานในประเทศไทย ดังนั้นสิ่งแวดล้อมของการทำงานในระดับอาเซียน ทางภาควิชาได้มีนิสิตจากประเทศอาเซียนอยู่ ตั้งแต่นิสิตชาวเวียดนาม ชาวกัมพูชา ชาวฟิลิปปินส์ อีกทั้งยังมีชาวลาวซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านของเรา
ดังนั้นสาขาวิศวกรรมแหล่งนํ้าเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้ที่จะมาเรียนและอยากเป็นวิศวกรแหล่งนํ้า มีโอกาสทำงานนอกจากระดับประเทศแล้วยังได้ทำงานในระดับนานาชาติอีกด้วย ด้วยบรรยากาศการเรียนการสอนที่มีนิสิตต่างชาติอยู่ด้วย จะเพิ่มพูนประสบการณ์ของนิสิตให้สามารถทำงานกับนานาชาติได้มากขึ้น อีกทั้งภาควิชาเอง มีจุดเด่นก็คือการ ทำ Physical Model หรือแบบจำลองทางกายภาพ ซึ่งปัจจุบันน่าจะเป็นแห่งเดียวที่ยังมี Lab Physical Model ขนาดใหญ่ให้นิสิตได้ใช้ในการเรียนการสอนและการทำวิจัยต่อไป
ในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยก็รวมเป็นหนึ่งในอาเซียน เพราะฉะนั้น งานจะไม่จบอยู่เพียงแค่ประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังต้องขยายออกไปเป็นระดับ ASEAN Engineer เพราะฉะนั้นโอกาสของงานทางด้านแหล่งนํ้ายังมีอยู่ค่อนข้างมาก เพราะประเทศอย่างเช่นลาว ซึ่งประกาศตัวเองว่าเป็นแบตเตอรี่ของอาเซียนโดยการทำในเรื่องของไฟฟ้าพลังนํ้ายังคงต้องการวิศวกรที่มีความรู้ความสามารถไปปฏิบัติงาน ณ ปัจจุบันนี้และในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า วิศวกรไทยก็จะต้องไปเป็นวิศวกรในประเทศอาเซียนอีกด้วย
จากสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าปัญหาด้าน Climate Change หรือการเปลี่ยนแปลงภาวะภูมิอากาศของโลกได้ส่งผลกระทบต่อภาวะอากาศในประเทศ ไทย ดังที่เห็นได้จากปัญหาภัยแล้ง แต่ในอีกประมาณ 1 สัปดาห์ต่อมาเกิดปัญหานํ้าท่วมทั่วประเทศ ปัญหานี้จะยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นภัยพิบัติทางนํ้าจะมีปัญหาทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้าอย่างแน่นอน
ปัจจุบันการขาดวิศวกรหรือผู้มีความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรนํ้า การจัดการนํ้าต่าง ๆ จึงเป็นที่ต้องการของตลาดในอนาคตอย่างแน่นอน วิศวกรรมแหล่งนํ้าเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่จะตอบปัญหาในเรื่องนี้ได้ ผมจึงขอเชิญชวนผู้ที่สนใจมีความคิดว่าจะมาแก้ปัญหาประเทศด้วยกัน อย่างน้อยมาเรียนในภาควิชาวิศวกรรมนี้และออกไปทำประโยชน์ให้แก่ประเทศด้วยกันเถอะ