บทสัมภาษณ์นิสิตวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

นางสาวมารี เคดารี

นางสาวมารี เคดารี

นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3

ความประทับใจที่มีต่อภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คือการที่อาจารย์และบุคลากรทุกท่านใส่ใจนิสิตทุกคน ช่วยแนะนำว่าควรจะทำอย่างไรเพื่อให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ที่เราตั้งไว้ รวมไปถึงส่งเสริมทักษะต่างๆ ที่มีความจำเป็นต่อการจบไปเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพและวิศวกรที่ดีของประเทศ

ความประทับใจที่มีต่อคณะวิศวกรรมศาสตร์คือการที่คณะของเราเปิดกว้างในการทำกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นกีฬา ดนตรี รวมไปถึงชมรมผู้นำเชียร์ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์กับการนำเสนอผลงาน รวมไปถึงการแสดงความคิดเห็นในห้องเรียนด้วย

นายวีรวิชญ์ รุจิรพีพัฒน์

นายวีรวิชญ์ รุจิรพีพัฒน์

นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4

ความภาคภูมิใจที่มีต่อคณะวิศวฯ และภาควิชาสิ่งแวดล้อมคืออาจารย์ไม่ได้สอนเพียงในห้องเรียนอย่างเดียว แต่ยังสอนการดำเนินชีวิตและการประยุกต์สิ่งต่าง ๆ ให้ทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้นภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมยังปลูกฝังให้นิสิตได้ตระหนักถึงปัญหา สิ่งแวดล้อมอย่างง่ายๆ เช่น การแยกขยะ อาจารย์ยังสอนให้รู้ว่าปัญหาต่าง ๆ มันเกิดจาก ตัวเรา

นายธิติวุฒิ มลิวัลย์

นายธิติวุฒิ มลิวัลย์

นิสิตระดับปริญญาโท

ความประทับใจที่มีต่อภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คือภาควิชามีการเปลี่ยนแปลงและ ปรับตัวให้ทันยุคทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ในมุมมองด้านการเรียนนั้น คณาจารย์จะมีการปรับปรุงเนื้อหาหรือรายวิชาเรียนให้สอดคล้องกับบริบทปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน การทำวิจัยนั้นภาควิชามีความพร้อมทางด้านเครื่องมือและเทคนิคใหม่ๆ ที่หลากหลาย ทำให้งานวิจัยสอดคล้องและตอบโจทย์กับปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยในปัจจุบัน ดังนั้นศาสตร์ ทางด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมยังมีแนวโน้มหรือโอกาสที่จะเติบโตขึ้นได้อีกในอนาคต

ความประทับใจที่มีต่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือคณะมีความพร้อมทางด้านวิชาการ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัย รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน ตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา ผมเห็นการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาของคณะวิศวกรรมศาสตร์อยู่ตลอดเวลา

นางสาวขวัญมนัส มีถาวร

นางสาวขวัญมนัส มีถาวร

นิสิตระดับปริญญาเอก

สิ่งที่ประทับใจในภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คือภาควิชาให้โอกาสทำวิจัยในต่างประเทศเนื่องจากภาควิชามีเครือข่ายกับมหาวิทยาลัยในหลายประเทศทั่วโลก ภาควิชามีการให้ทุนแก่นิสิตที่สนใจ ทำให้นิสิตได้มีโอกาสร่วมทำวิจัยกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านและนำมาปรับใช้กับงานวิจัยของตัวเอง เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายทางด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย